กฎหมายแพ่งและกฎหมายอาญา

กฏหมายแพ่งและอาญา
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
CCCT-RoyalDecree1925.jpgพระราชกฤษฎีกาให้ใช้บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1 และบรรพ 2 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 42/หน้า 1/11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ย่อ: ป.พ.พ.) เป็นประมวลกฎหมายแพ่ง อันเป็นกฎหมายสารบัญญัติ (อังกฤษ: substantive law) แห่งประเทศไทย เริ่มร่างครั้งแรกใน ร.ศ. 127 ตรงกับ พ.ศ. 2451 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายหลังการประกาศใช้กฎหมายลักษณะอาญาเมื่อปีเดียวกัน เพื่อริเริ่มขอยกเลิกบรรดาสนธิสัญญาที่ราชอาณาจักรสยามทำไว้กับต่างประเทศอันมีผลให้สยามต้องเสียเปรียบในด้านสิทธิสภาพนอกอาณาเขตและเอกราชทางการศาล
การเริ่มจัดทำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
หลังจากรัฐบาลสยามตัดสินใจจัดทำประมวลกฎหมายบ้านเมืองแล้ว ใน ร.ศ. 127 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2451 ก็ได้กฎหมายลักษณะอาญาเป็นประมวลกฎหมายฉบับแรกของประเทศและประกาศใช้ในปีนั้นเอง ครั้นแล้ว พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมีพระราชดำริให้จัดทำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ต่อไป ดังปรากฏในพระราชปรารภของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่า[6]
"กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ใช้อยู่ในเวลานี้ยังกระจัดกระจายอยู่หลายแห่ง สมควรจะนำมารวบรวมไว้แห่งเดียวกันและจัดเข้าเป็นหมวดหมู่ เพื่อให้สมแก่กาลสมัย ความเจริญ และพาณิชยกรรมแห่งบ้านเมือง และความสัมพันธ์กับนานาประเทศ ส่วนหลักกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งศาลยุติธรรมได้เคยยกขึ้นปรับสัตย์ตัดสินคดีเนือง ๆ มาโดยธรรมเนียมประเพณีอันควรแก่ยุติธรรมนั้น สมควรจะบัญญัติไว้ให้เป็นหลักฐานและกิจการบางอย่างในส่วนแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งไม่มีกฎหมายที่ใช้อยู่ในบัดนี้ ก็ควรจะบัญญัติขึ้นไว้ด้วย...ทางที่จะให้ถึงซึ่งผลอันนี้ ควรจะประมวลและบัญญัติบทกฎหมายที่กล่าวมาแล้วเข้าเป็นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ตามแบบอย่างซึ่งประเทศอื่น ๆ ได้ทำมา..."
 การจัดทำและประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพอื่น
ภายหลังจากการประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1 และบรรพ 2 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พร้อมกับการประกาศใช้บรรพ 3 ในเวลาเดียวกันเมื่อ พ.ศ. 2468 กรมร่างกฎหมายซึ่งวิวัฒนามาเป็นคณะกรรมการกฤษฎีกาในปัจจุบันก็รับหน้าที่ร่างประมวลกฎหมายสืบต่อมา โดยในการร่างบรรพอื่น ๆ นั้น แม้จะมีประมวลกฎหมายแพ่งของชาติอื่น ๆ ในระบบซีวิลลอว์เป็นแม่แบบ แต่หลักกฎหมายของระบบคอมมอนลอว์ที่เคยใช้อยู่แต่เดิมก็ยังมีอิทธิพลอยู่ไม่น้อย นอกจากนี้ การรับกฎหมายของต่างชาติเข้าหาได้หยิบยกมาทั้งหมด ทว่า ได้ปรับให้เหมาะสมกับสังคมไทย[29] ดังที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำรัสเป็นแนวทางไว้ในพระราชพิธีเปิดรัฐมนตรีสภา เมื่อวันที่ 24 มกราคม ร.ศ. 113 (พ.ศ. 2437) ว่า[30]
"...บางทีก็มีอยู่เนือง ๆ ที่ท่านทั้งหลายจะต้องค้นหาเทียบเคียงกฎหมายต่าง ๆ ที่ใช้อยู่ในเมืองต่างประเทศแลหัวเมืองของเมืองต่างประเทศทั้งหลายที่มีเฉพาะสำหรับกับบ้านเมืองเราอยู่นี้เป็นสำคัญเป็นนิตย์ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ เราไม่ควรที่จะเปลี่ยนแปลงฤๅจะจัดการแก้ไขธรรมเนียมที่มีอยู่ทุกวันนี้ให้ใหม่ไปหมดสิ้นทีเดียว แลไม่ควรที่จะหลับตาเอาอย่างทำตามธรรมเนียมที่มีในที่อื่น หากว่าเราจะต้องค่อย ๆ ทำการให้ดีขึ้นโดยลำดับในการที่เป็นสิ่งต้องการจะจัดให้ดีแล้ว แลเลิกถอนแต่สิ่งที่เห็นเป็นแน่แท้ว่าไม่ดีฤๅเป็นของใช้ไม่ได้แล้วเท่านั้น ทุกเมืองอื่น ๆ แลในเมืองนี้เป็นสำคัญทั้งสิ้นย่อมมีธรรมเนียมหลายอย่างซึ่งเป็นที่จะต้องนับถือกัน ไม่ใช่เพราะว่าเป็นธรรมเนียมเก่าแก่มาแต่โบราณเสมอกับอายุของประเทศอย่างเดียว หากเพราะว่าเป็นธรรมเนียมที่สนิทแน่นแฟ้นแก่น้ำใจและความเชื่อมั่นของอาณาประชาชน แลเพราะว่าถ้าจะเลิกถอนธรรมเนียมเช่นนี้เสียแล้ว ก็จะไม่เป็นแต่เพียงที่จะเป็นภัยเกิดขึ้นแก่เมืองที่ตั้งอยู่ได้อย่างเดียว หากกระทำให้อาณาประชาราษฎร์ไม่เป็นผาสุกด้วย..."
บานแพนก กฎหมายตราสามดวง ประทับตราพระราชสีห์ ตราพระคชสีห์ และตราบัวแก้ว
ดังนั้น ในการจัดทำประมวลกฎหมายในครั้งนั้น คณะกรรมการร่างกฎหมายจึงคำนึงเสมอว่าบทบัญญัติแต่ละเรื่องเหมาะสมกับสภาพสังคมไทยหรือไม่ โดยเฉพาะในการร่างบรรพ 4 ว่าด้วยครอบครัว และบรรพ 5 ว่าด้วยมรดก ต้องใคร่ครวญกันอย่างหนักทีเดียวเพราะครอบครัวตะวันตกและครอบครัวไทยนั้นต่างกันราวกับหน้ามือหลังมือ หลาย ๆ เรื่องจำต้องเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตคนไทยไปจากเดิมก็ได้พยายามให้กระทบกระเทือนน้อยที่สุด เช่น การรับหลักการเรื่องผัวเดียวเมียเดียว (monogamy) เข้ามา ก็เพียงกำหนดว่าการจดทะเบียนสมรสซ้อน (bigamy) เป็นโมฆะ แต่ไม่ถึงกับเป็นความผิดอาญาเช่นในหลาย ๆ ประเทศ[31] และหลาย ๆ เรื่องก็รับเอาคุณธรรมของมนุษย์มาจากกฎหมายตราสามดวงมาโดยตรงทีเดียว ซึ่งไม่ปรากฏในกฎหมายของชาติใดอีกแล้ว เป็นต้นว่า ในเรื่องคดีอุทลุม ที่เป็นหลักการของความกตัญญูต่อบุพการีและผู้มีพระคุณ โดยกฎหมายตราสามดวง พระไอยการลักษณะรับฟ้อง มาตรา 25 บัญญัติว่า[32]
"ผู้ใดเป็นคนอุทลุม มิได้รู้คุณบิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ตา ยาย แลมันมาฟ้องร้องให้เรียกบิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยายมัน ท่านให้มีโทษทวนมันด้วยลวดหนังโดยฉกรรจ์ อย่าให้มันคนร้ายนั้นดูเยี่ยงอย่างกันต่อไป แล้วอย่าให้บังคับบัญชาว่ากล่าวคดีของมันนั้นเลย"

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประกอบด้วยบทบัญญัติ 6 บรรพ ซึ่งเป็นการจัดหมวดหมู่อย่าง เบือร์แกร์ลิชส์เกเซทซ์บุค (Bürgerliches Gesetzbuch) หรือประมวลกฎหมายแพ่งเยอรมัน ที่มี 5 บรรพ แต่ไทยได้แยกเอาเรื่องหนี้ลักษณะเฉพาะจากบรรพ 2 หนี้ มาไว้เป็นบรรพ 3 เอกเทศสัญญา อีกบรรพหนึ่ง[39] โดยบรรพทั้งหกของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มีดังนี้
·                         บรรพ 1 หลักทั่วไป ประกอบด้วยบทบัญญัติ 6 ลักษณะ ดังนี้
o                        ลักษณะ 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
o                        ลักษณะ 2 บุคคล
o                        ลักษณะ 3 ทรัพย์
o                        ลักษณะ 4 นิติกรรม
o                        ลักษณะ 5 ระยะเวลา
o                        ลักษณะ 6 อายุความ
·                         บรรพ 2 หนี้ ประกอบด้วยบทบัญญัติ 5 ลักษณะ ดังนี้
o                        ลักษณะ 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
o                        ลักษณะ 2 สัญญา
o                        ลักษณะ 3 จัดการงานนอกสั่ง
o                        ลักษณะ 4 ลาภมิควรได้
o                        ลักษณะ 5 ละเมิด
·                         บรรพ 3 เอกเทศสัญญา ประกอบด้วยบทบัญญัติ 23 ลักษณะ ดังนี้
o                        ลักษณะ 1 ซื้อขาย
o                        ลักษณะ 2 แลกเปลี่ยน
o                        ลักษณะ 3 ให้
o                        ลักษณะ 4 เช่าทรัพย์
o                        ลักษณะ 5 เช่าซื้อ
o                        ลักษณะ 6 จ้างแรงงาน
o                        ลักษณะ 7 จ้างทำของ
o                        ลักษณะ 8 รับขน
o                        ลักษณะ 9 ยืม
o                        ลักษณะ 10 ฝากทรัพย์
o                        ลักษณะ 11 ค้ำประกัน
o                        ลักษณะ 12 จำนอง
o                        ลักษณะ 13 จำนำ
o                        ลักษณะ 14 เก็บของในคลังสินค้า
o                        ลักษณะ 15 ตัวแทน
o                        ลักษณะ 16 นายหน้า
o                        ลักษณะ 17 ประนีประนอมยอมความ
o                        ลักษณะ 18 การพนันและขันต่อ
o                        ลักษณะ 19 บัญชีเดินสะพัด
o                        ลักษณะ 20 ประกันภัย
o                        ลักษณะ 21 ตั๋วเงิน
o                        ลักษณะ 22 หุ้นส่วนและบริษัท
o                        ลักษณะ 23 สมาคม
·                         บรรพ 4 ทรัพย์สิน ประกอบด้วยบทบัญญัติ 8 ลักษณะ ดังนี้
o                        ลักษณะ 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
o                        ลักษณะ 2 กรรมสิทธิ์
o                        ลักษณะ 3 ครอบครอง
o                        ลักษณะ 4 ภาระจำยอม
o                        ลักษณะ 5 อาศัย
o                        ลักษณะ 6 สิทธิเหนือพื้นดิน
o                        ลักษณะ 7 สิทธิเก็บกิน
o                        ลักษณะ 8 ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์
·                         บรรพ 5 ครอบครัว ประกอบด้วยบทบัญญัติ 3 ลักษณะ ดังนี้
o                        ลักษณะ 1 การสมรส
o                        ลักษณะ 2 บิดามารดากับบุตร
o                        ลักษณะ 3 ค่าอุปการะเลี้ยงดู
·                         บรรพ 6 มรดก ประกอบด้วยบทบัญญัติ 6 ลักษณะ ดังนี้
o                        ลักษณะ 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
o                        ลักษณะ 2 สิทธิโดยธรรมในการรับมรดก
o                        ลักษณะ 3 พินัยกรรม
o                        ลักษณะ 4 วิธีจัดการและปันทรัพย์มรดก
o                        ลักษณะ 5 มรดกที่ไม่มีผู้รับ
o                        ลักษณะ 6 อายุความ
กฏหมายอาญา
1. กฎหมายอาญาเป็นกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์ในการป้องกันสังคมให้เกิดความสงบเรียบร้อย โดยกำหนดว่าการกระทำใดเป็นความผิดอาญาและกำหนดโทษของผู้ฝ่าฝืน
                    2.
ลักษณะที่สำคัญของกฎหมายอาญา คือเป็นกฎหมายที่กำหนดเป็นความผิดชัดแจ้งและไม่มีผลบังคับย้อนหลังที่เป็นโทษแก่ผู้กระทำความผิด
                    3.
โทษทางอาญามี 5 ชนิด คือ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับและริบทรัพย์สิน4. การกระทำความผิดทางอาญามีบางกรณีที่กฎหมายยกเว้นโทษและยกเว้นความผิด
                    5.
เด็กและเยาวชนกระทำความผิดอาจได้รับโทษต่างกับการกระทำความผิดของผู้ใหญ่ เนื่องจากเด็กและเยาวชนเป็นผู้อ่อนเยาว์ ปราศจากความรู้สึกรับผิดชอบ การลงโทษต้องคำนึงถึงอายุของเด็กกระทำความผิด
                กฎหมายอาญา คือ กฎหมายที่ว่าด้วยความผิดและโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิด ตัวบทที่สำคัญๆ ของกฎหมายอาญาก็คือ ประมวลกฎหมายอาญา นอกจากประมวลกฎหมายอาญาแล้ว ยังมีพระราชบัญญัติอื่นๆที่กำหนดโทษทางอาญาสำหรับการฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินั้น เช่น พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พระราชบัญญัติการพนัน เป็นต้น
               
ทุกสังคมย่อมมีกฎเกณฑ์ ข้อบังคับความประพฤติของสมาชิกในสังคมนั้นๆ บุคคลใดมีการกระทำที่มีผลกระทบกระเทือนต่อสังคมหรือคนส่วนใหญ่ จัดเป็นการกระทำความผิดทางอาญา ดังนั้นกฎหมายอาญาจึงเป็นกฎหมายซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการป้องกันสังคม เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยโดยการกำหนดว่า การกระทำใดเป็นความผิดอาญาและได้กำหนดโทษของผู้ฝ่าฝืน กระทำความผิดนั้นๆ
1. ความผิดทางอาญา
               
ความผิดทางอาญา คือ การกระทำที่มีผลกระทบกระเทือนต่อสังคมหรือคนส่วนใหญ่ของประเทศ   เมื่อบุคคลใดกระทำความผิดทางอาญา จะต้องได้รับโทษตามกฎหมายมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับความร้ายแรงของการกระทำความผิด กฎหมายมิได้ถือว่าการกระทำความผิดทุกอย่างร้ายแรงเท่าเทียมกัน การลงโทษผู้กระทำความผิดจึงขึ้นอยู่กับการกระทำ และสังคมมีความรู้สึกต่อการกระทำนั้นๆ ว่า อะไรเป็นปัญหาสำคัญมากน้อยเพียงใด ซึ่งอาจจะแบ่งการกระทำความผิดอาญาออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
                1.1
ความผิดต่อแผ่นดิน หมายถึง ความผิดในทางอาญา ซึ่งนอกจากเรื่องนั้นจะมีผลต่อตัวผู้รับผลร้ายแล้ว ยังมีผลกระทบที่เสียหายต่อสังคมอีกด้วย และรัฐจำเป็นต้องป้องกันสังคมเอาไว้ด้วยการยื่นมือเข้ามาเป็นผู้เสียหายเอง ดังนั้นแม้ผู้รับผลร้ายจากการกระทำโดยตรงจะไม่ติดใจเอาความ แต่ก็ยังต้องเข้าไปดำเนินคดีฟ้องร้องเอาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษให้ได้
               
กรณีตัวอย่างที่ 1 นายมังคุดทะเลาะกับนายทุเรียน นายมังคุดบันดาลโทสะใช้ไม้ตีศีรษะนายทุเรียนแตก นายทุเรียนไปแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจให้ดำเนินคดีกับนายมังคุดในข้อหาทำร้ายร่างกายผู้อื่น ต่อมานายทุเรียนหายโกรธนายมังคุดก็ไม่ติดใจเอาเรื่องกับนายมังคุด แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะต้องดำเนินคดีกับนายทุเรียนต่อไปเพราะเป็นความผิดต่อแผ่นดิน
               
กรณีตัวอย่างที่ 2 นายแตงโมขับรถยนต์ด้วยความประมาทไปชนเด็กชายแตงไทยถึงแก่ความตายเป็นความผิดอาญาฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต่อมานายแตงกวาและนางแต่งอ่อนบิดามารดาของเด็กชายแตงไทย ได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากนายแตงโมเป็นเงิน 200,000 บาทแล้ว จึงไม่ติดใจเอาความกับนายแตงโม แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะต้องดำเนินคดีกับนายแตงโมต่อไป เพราะความผิดฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายเป็นความผิดต่อแผ่นดิน
                1.2
ความผิดอันยอมความกันได้ หมายถึง ความผิดในทางอาญาซึ่งไม่ได้มีผลร้ายกระทบต่อสังคมโดยตรง หากตัวผู้รับผลร้ายไม่ติดใจเอาความแล้ว รัฐก็ไม่อาจยื่นมือเข้าไปดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดได้ และถึงแม้จะดำเนินคดีไปแล้ว เมื่อตัวผู้เสียหายพอใจยุติคดีเพียงใดก็ย่อมทำได้ด้วยการถอนคำร้องทุกข์ ถอนฟ้อง หรือยอมความ เช่น ความผิดฐานหมิ่นประมาท ความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพ เป็นต้น
                กรณีตัวอย่างที่ 1 นายโก๋และนางกี๋ลักลอบได้เสียกัน นายแฉแอบเห็นเข้า จึงได้นำความไปเล่าให้นายเชยผู้เป็นเพื่อนฟัง การกระทำของนายแฉมีความผิดฐานหมิ่นประมาท เมื่อนายโก๋และนางกี๋รู้เข้าจึงไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ นายแฉไปหานายโก๋และนางกี๋  เพื่อขอขมานายโก๋และนางกี๋จึงถอนคำร้องทุกข์ดังนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงไม่มีอำนาจดำเนินคดีกับนายแฉอีกต่อไป ถือว่าเป็นความผิดอันยอมความกันได้
               
กรณีตัวอย่างที่ 2 นายตำลึงล่ามโซ่ใส่กุญแจประตูใหญ่บ้านของนายมะกรูด ทำให้นายมะกรูดออกจากบริเวณบ้านไม่ได้ นายมะกรูดต้องปีนกำแพงรั้งกระโดลงมา การกระทำของนายตำลึงเป็นความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังทำให้ปราศจากเสรีภาพ นายมะกรูดจึงไปแจ้งความยังสถานีตำรวจ นายตำลึงได้ไปหานายมะกรูดยอมรับความผิด และขอร้องไม่ให้นายตำลึงเอาความกับตนเอง นายตำลึงเห็นใจจึงไปถอนคำร้องทุกข์ ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจก็จะดำเนินคดีต่อไปอีกไม่ได้เพราะเป็นความผิดอันยอมความกันได้
2. ลักษณะสำคัญของกฎหมายอาญา
               
3. โทษทางอาญา
                1)
ประหารชีวิต คือ นำตัวไปยิงด้วยปืนให้ตาย
                2)
จำคุก คือ นำตัวไปขังไว้ที่เรือนจำ
                3)
กักขัง คือนำตัวไปขังไว้ ณ ที่อื่น ที่ไม่ใช่เรือนจำ เช่น นำไปขังไว้ที่สถานีตำรวจ
                4)
ปรับ คือ นำค่าปรับซึ่งเป็นเงินไปชำระให้แก่เจ้าพนักงาน
                5)
ริบทรัพย์สิน คือ ริบเอาทรัพย์สินนั้นเป็นของหลวง เช่น ปืนเถื่อน ให้ริบ ฯลฯ
4. บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาและได้รับโทษทางอาญาเมื่อใด
               
บุคคลจะต้องได้รับโทษทางอาญาต่อเมื่อ
               
5. เหตุที่กฎหมายไม่ลงโทษ
               
6. เด็กและเยาวชนกระทำความผิด
               
เด็กอาจกระทำความผิดได้เช่นเดียวผู้ใหญ่ แต่การกระทำความผิดของเด็กอาจได้รับโทษต่างจากการกระทำของผู้ใหญ่ ทั้งนี้เนื่องจากเด็กเป็นผู้อ่อนเยาว์ ปราศจากความรู้สึกรับผิดชอบหรือขาดความรู้สึกสำนึกเท่าผู้ใหญ่ การลงโทษเด็กจำต้องคำนึงถึงอายุของเด็ก   ผู้กระทำความผิดด้วย   กฎหมายได้แบ่งการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนออกเป็น 4 ช่วงอายุ คือ
                1)
เด็กอายุไม่เกิน 7 ปี
                2)
เด็กอายุกว่า 7 ปี แต่ยังไม่เกิน 14 ปี
                3)
เยาวชนอายุเกินกว่า 14 ปีแต่ไม่เกิน 17 ปี
                4)
เยาวชนอายุกว่า 17 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี
           
สำหรับเด็กในช่วงอายุไม่เกิน 7 ปี และเด็กอายุกว่า 7 ปีแต่ไม่เกิน 14 ปีเท่านั้น  ที่กฎหมายยกเว้นโทษให้ ส่วนผู้ที่อายุเกินกว่า 14 ปีแต่ไม่เกิน 17 ปี และผู้ที่มีอายุกว่า 17 ปี  แต่ไม่เกิน 20 ปี หากกระทำความผิดกฎหมายก็จะไม่ยกเว้นโทษให้ เพียงแต่ให้รับลดหย่อนโทษให้
                    6.1
เด็กอายุไม่เกิน 7 ปีการกระทำความผิด เด็กไม่ต้องรับโทษเลย ทั้งนี้เพราะกฎหมายถือว่าเด็กในวัยนี้ยังไม่สามารถรู้ผิดชอบได้ ฉะนั้นจะมีการจับกุมฟ้องร้อยเกในทางอาญามิได้
                    6.2
เด็กอายุกว่า 7 ปี แต่ไม่เกิน 14 ปีกระทำความผิด เด็กนั้นก็ไม่ต้องรับโทษเช่นกัน แต่กฎหมายให้อำนาจศาลที่จะใช้วิธีการสำหรับเด็ก เช่น
                            1)
ว่ากล่าวตักเตือนเด็กนั้นแล้วปล่อยตัวไป
                            2)
เรียกบิดามารดา ผู้ปกครองหรือบุคคลที่เด็กนั้นอาศัยอยู่มาตักเตือนด้วยก็ได้
                            3)
มอบตัวเด็กให้แก่บิดามารดาหรือผู้ปกครองไป โดยวางข้อกำหนดให้บิดามารดาหรือผู้ปกครองระวังเด็กนั้นไม่ให้ก่อเหตุร้าย
                            4)
มอบเด็กให้แก่บุคคลที่เด็กอาศัยอยู่ เมื่อเขายอมรับข้อกำหนดที่จะระวังเด็กนั้นไม่ให้ก่อเหตุร้าย
                            5)
กำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติ
                            6)
มอบตัวเด็กให้กับบุคคลหรือองค์การที่ศาลเห็นสมควร เพื่อดูและอบรมและสั่งสอนเด็กในเมื่อบุคคลหรือองค์การนั้นยินยอม
                            7)
ส่งตัวเด็กนั้นไปยังโรงเรียนหรือสถานฝึกอบรม หรือสถานที่ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อฝึกและอบรม
                    6.3
เยาวชนอายุเกิน 14 ปี แต่ไม่เกิน 17 ปีกระทำความผิด ผู้ที่อายุกว่า 14 ปีแต่ไม่เกิน 17 ปี กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด ให้ศาลพิจารณาถึงความรู้ผิดชอบและสิ่งอื่นทั้งปวงเกี่ยวกับผู้นั้นในอันควรวินิจฉัยว่าสมควรพิพากษาลงโทษผู้นั้นหรือไม่ศาลอาจใช้วิธีการตามข้อ 6.2 หรือลงโทษเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ โดยลดมาตราส่วนโทษที่จะใช้กับเยาวชนนั้นลงกึ่งหนึ่ง ก่อนที่จะมีการลงโทษเยาวชนผู้กระทำความผิด
                    6.4
เยาวชนอายุกว่า 17 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปีกระทำความผิด ผู้ที่อายุกว่า 17 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี กระทำอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด ถ้าศาลเห็นสมควรจะลดมาตราส่วนโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นลง 1 ใน 3 หรือกึ่งหนึ่งก็ได้จะเห็นได้ว่า ผู้ที่อายุกว่า 17 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี กฎหมายไม่ถือว่าเป็นเด็ก   แต่กฎหมายก็ยอมรับว่า บุคคลในวัยนี้ยังมีความคิดอ่านไม่เท่าผู้ใหญ่จริง จึงไม่ควรลงโทษเท่าผู้ใหญ่กระทำความผิด โดยให้ดุลพินิจแก่ศาลที่จะพิจารณาว่า สมควรจะลดหย่อนผ่อนโทษให้หรือไม่ ถ้าศาลพิจารณาสิ่งต่างๆที่เกี่ยวกับผู้กระทำความผิด เช่น ความคิดอ่าน การศึกษาอบรม ตลอดจนพฤติการณ์ในการกระทำความผิด เช่น กระทำความผิดเพราะถูกผู้ใหญ่เกลี้ยกล่อม หากศาลเห็นสมควรลดหย่อนผ่อนโทษให้ก็มีอำนาจลดมาตราส่วนโทษได้ 1 ใน 3 หรือกึ่งหนึ่งการลดมาตราส่วนโทษ คือ การลดอัตราโทษขั้นสูงและโทษขั้นต่ำลง 1 ใน หรือกึ่งหนึ่งแล้ว จึงลงโทษระหว่างนั้น แต่ถ้ามีอัตราโทษขั้นสูงอย่างเดียวก็ลดเฉพาะอัตราโทษขั้นสูงนั้น แล้วจึงลงโทษจากอัตราที่ลดแล้วนั้น
               
กรณีตัวอย่าง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 536/2516 จำเลยอายุ 19 ปี ยอมมีความรู้สึกผิดชอบน้อย ได้กระทำความผิดโดยเข้าใจว่าผู้ตายข่มเหงน้ำใจตน ศาลเห็นสมควรลดมาตราส่วนโทษลง 1 ใน 3
สรุปสาระสำคัญ
                    1.
กฎหมายอาญา คือ กฎหมายที่ว่าด้วยความผิดและโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิด
                    2.
ความผิดทางอาญา คือ การกระทำที่มีผลกระทบกระเทือนต่อสังคมหรือคนส่วนใหญ่ของประเทศ
                    3.
การกระทำความผิดอาญาออกเป็น 2 ลักษณะ คือ  ความผิดต่อแผ่นดิน และความผิดอันยอมความกันได้
                    4.
ลักษณะสำคัญของกฎหมายอาญาเป็นกฎหมายที่กำหนดเป็นความผิดชัดแจ้ง หรือเป็นกฎหมายที่ไม่มีผลย้อนหลัง
                    5.
โทษทางอาญา มี 5 ชนิด
                                1.
ประหารชีวิต 2. จำคุก
                                3.
กักขัง 4. ปรับ
                                5.
ริบทรัพย์สิน
                    6.
กระทำโดยเจตนา คือ การกระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำและในขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น
                    7.
กระทำโดยไม่เจตนา คือ ผู้กระทำไม่ได้ประสงค์ต่อผล หรือไม่อาจเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นได้
                    8.
การกระทำโดยประมาท คือ การกระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้น จะต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านี้ได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่
                    9.
กฎหมายได้แบ่งการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนออกเป็น 4 ช่วงอายุ คือ
                            1)
เด็กอายุไม่เกิน 7 ปี
                            2)
เด็กอายุกว่า 7 ปี แต่ยังไม่เกิน 14 ปี
                            3)
เยาวชนอายุเกินกว่า 14 ปีแต่ไม่เกิน 17 ปี
โดยหลักทั่วไปแล้วบุคคลใดกระทำความผิดต้องรับโทษ แต่มีบางกรณีที่กฎหมายไม่ลงโทษ   เหตุที่กฎหมายไม่ลงโทษนั้น เป็นกรณีที่กฎหมายไม่ลงโทษผู้กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด หมายความว่า ผู้กระทำยังมีความผิดอยู่แต่กฎหมายยกเว้นโทษให้ ต่างกับกรณียกเว้นความผิด ซึ่งผู้กระทำไม่มีความผิดเลยทีเดียว อย่างไรก็ตามทั้งเหตุยกเว้นและหยุดยกเว้นความผิดต่างก็มีผลทำให้ผู้กระทำรับโทษเหมือนๆกัน
               
เหตุยกเว้นโทษทางอาญา  
               
การกระทำความผิดอาญาที่ผู้กระทำไม่ต้องรับโทษถ้ามีเหตุอันจะอ้างได้ตามกฎหมาย เช่น
                    1.
การกระทำความผิดด้วยความจำเป็น
                    2.
การกระทำความผิดเพราะความบกพร่องทางจิต
                    3.
การกระทำความผิดเพราะความมึนเมา
                    4.
การกระทำตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน
                    5.
สามีภริยากระทำความผิดต่อกันในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์บางฐาน
                    6.
เด็กอายุไม่เกิน 14 ปีกระทำความผิด1. การกระทำอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้น บัญญัติเป็นความผิดซึ่งเป็นไปตามหลักที่ว่าไม่มีความผิดโดยปราศจากกฎหมาย
                2.
กฎหมายที่ใช้ในขณะนั้นต้องกำหนดโทษไว้ด้วย เป็นไปตามหลักที่ว่าไม่มีโทษโดยไม่มีกฎหมายการลงโทษต้องเป็นโทษที่กำหนดไว้ในกฎหมาย เช่น กฎหมายกำหนดโทษปรับศาลจะลงโทษจำคุกไม่ได้ แม้ศาลจะลงโทษปรับศาลก็ลงโทษปรับเกินอัตราขั้นสูงที่กฎหมายกำหนดไว้ไม่ได้
               
กรณีตัวอย่าง ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 372 บัญญัติว่า ผู้ใดทะเลาะกันอย่างอื้ออึงในทางสาธารณะ หรือสาธารณสถานหรือกระทำโดยประการอื่นใด ให้เสียความสงบเรียบร้อยในทางสาธารณะหรือสาธารณะสถานต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท  ดังนั้น ถ้าผู้ใดกระทำความผิดตามมาตรานี้ศาลจะลงโทษจำคุกไม่ได้  เพราะความผิดตามมาตราดังกล่าวกำหนดเฉพาะโทษปรับเท่านั้น ถ้าศาลจะลงโทษปรับก็จะปรับได้ไม่เกิน 500 บาทบุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาต่อเมื่อ
                4.1
กระทำโดยเจตนา คือ การกระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำและในขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น
               
กรณีตัวอย่างที่ 1 นายฟักรู้ว่านายแฟง ซึ่งเป็นศัตรูจะต้องเดินผ่านสะพานข้ามคลองหลังวัดสันติธรรมทุกเช้าเวลาประมาณ 08.00 น. เขาจึงไปดักซุ่มอยู่ใกล้บริเวณนั้น เมื่อนายแฟงเดินมาใกล้นายฟักจึงใช้ปืนยิงไปที่นายแฟง 1 นัด กระสุนปืนถูกบริเวณหน้าอกของนายแฟง เป็นเหตุให้นายแฟงถึงแก่ความตาย นายฟักมีความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา
               
กรณีตัวอย่างที่ 2 ดาวเรืองทะเลาะกับบานชื่น ดาวเรืองพูดเถียงสู้บานชื่นไม่ได้ ดาวเรืองจึงตบปากบานชื่น 1 ที่ ดาวเรืองมีความผิดฐานทำร้ายร่างกายโดยเจตนา
                4.2
กระทำโดยไม่เจตนา แต่ต้องเป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้ โดยแจ้งชัดให้รับผิดแม้กระทำโดยไม่เจตนากระทำโดยไม่เจตนา คือ ผู้กระทำไม่ได้ประสงค์ต่อผล หรือไม่อาจเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นได้ เช่น เราผลักเพื่อนเพียงจะหยอกล้อเท่านั้น แต่บังเอิญเพื่อนล้มลงไป ศีรษะฟาดขอบถนนถึงแก่ความตาย เป็นต้น
                4.3
กระทำโดยประมาท แต่ต้องเป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทำโดยประมาทการกระทำโดยประมาท คือ การกระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจะต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านี้ได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่
               
กรณีตัวอย่าง นายเหิรฟ้าใช้อาวุธปืนขู่นายเหิรลม เพื่อไม่ให้เอาแป้งมาป้ายหน้านายเหิรฟ้า โดยที่นายเหิรฟ้าไม่รู้ว่าอาวุธปืนกระบอกนั้น มีลูกกระสุนปืนบรรจุอยู่ เป็นเหตุให้กระสุนปืนลั่นไปถูกนายเหิรลมตาม นายเหิรฟ้ามีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
               
อนึ่ง การกระทำไม่ได้หมายความเฉพาะถึงการลงมือกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเท่านั้น แต่หมายความรวมถึงการงดเว้นการกระทำโดยประสงค์ให้เกิดผลและเล็งเห็นผลที่จะเกิดเช่น แม่จงใจทิ้งลูกไม่ให้กินข้าว จนทำให้ลูกตาย ตามกฎหมายแม่มีหน้าที่จะต้องเลี้ยงดูลูก เมื่อแม่ละเลยไม่ทำหน้าที่ดังกล่าวจึงเป็นเหตุให้ลูกตาย ย่อมเป็นการกระทำความผิดโดยงดเว้น ถ้าการงดเว้นนั้นมีเจตนางดเว้นก็ต้องรับผิดในฐานะกระทำโดยเจตนา ถือว่าเป็นความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา2.1 เป็นกฎหมายที่กำหนดเป็นความผิดชัดแจ้ง ในขณะกระทำความผิดต้องมีกฎหมายบัญญัติไว้แล้วอย่างชัดแจ้งว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด เจ้าหน้าที่ผู้ใช้กฎหมายจะสร้างกฎหมายใหม่ขึ้นมาใช้บังคับแก่ประชาชนคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะไม่ได้ เช่น กฎหมายบัญญัติว่า การลักทรัพย์เป็นความผิดดังนั้น ผู้ใดลักทรัพย์ก็ย่อมมีความผิดเช่นเดียวกัน
                2.2
เป็นกฎหมายที่ไม่มีผลย้อนหลัง เป็นโทษไม่ได้แต่เป็นคุณได้ ถ้าหากในขณะที่มีการกระทำสิ่งใดยังไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด แม้ต่อมาภายหลังจะมีกฎหมายบัญญัติว่าการกระทำอย่างเดียวกันนั้นเป็นความผิด ก็จะนำกฎหมายใหม่ใช้กับผู้กระทำผิดคนแรกไม่ได้
               
กรณีตัวอย่าง นายมะม่วงมีต้นไม้สักขนาดใหญ่ซึ่งขึ้นในที่ดิน ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของเขา นายมะม่วงได้ตัดต้นสัก เลื่อยแปรรูปเก็บเอาไว้ ก่อนที่จะมีพระราชบัญญัติป่าไม้ ฉบับที่ 3 ออกมาบังคับใช้ ถือว่าไม้สักเป็นไม้หวงห้ามก็ตาม นายมะม่วงก็ไม่มีความผิด เพราะจะใช้กฎหมายใหม่ย้อนหลังลงโทษทางอาญาไม่ได้