วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การปกครองสมัยกรุงรัตนโกสินทร์


รูปแบบการปกครองของไทยแต่สมัยเดิมมามีการเปลี่ยนแปลงไม่มากนักโดยเฉพาะในสมัยกรุงศรีอยุธยาตลอดระยะเวลาเกือบ 500 ปี มิได้การเปลี่ยนแปลงในรูปแบบการปกครองขนานใหญ่แต่อย่างใดจนถึงรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงรัตนโกสินทร์อันเป็นระยะที่ประเทศไทย ได้มีการติดต่อกับต่างประเทศมากขึ้นกว่าแต่ก่อนวัฒนธรรมและอารยธรรมต่างๆได้หลั่งไหลเข้ามาสู่ประเทศไทยประกอบกับอิทธิพลในการแสวงหา เมืองขึ้นของ
ชาติตะวันตกที่สำคัญ 2 ชาติ คืออังกฤษและฝรั่งเศสกำลังคุกคามเข้ามาใกล้ประเทศไทยประการสำคัญที่สุดก็คือพระอัจฉริยะของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงคาดการณ์สำคัญในอนาคตอย่างถูกต้อง จึงได้ดำเนินรัฐประศาสนโยบายนำประเทศไทยให้พ้นวิกฤตการณ์ จากการคุกคามทางการเมืองมาได้นำประเทศไทยสู่ความก้าวหน้ายุคใหม่อันเป็นสำคัญที่เป็น รากฐานในการปกครองปัจจุบัน การปฏิรูปการบริหาร (Administrativereform) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในปี
พ.ศ. 2435 นี้นับว่าเป็นการปฏิรูปการปกครองการบริหารที่สำคัญของชาติไทยและนำความเจริญรุ่งเรืองนานัปมาสู่ประเทศชาติและปวงชาวไทย ดังจะกล่าวถึงมูลเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดการปฏิรูปการ การปกครองดังกล่าวต่อไป

1. การบริหารกิจการบ้านเมือง

รัชกาลที่ 7 ทรงดำริที่จะมอบอำนาจการปกครองบ้านเมืองแก่ประชาชน ทรงฝึกหัดข้าราชการและราษฎรให้เข้าใจการปกครองตนเอง โดยตั้งสภานครบาลที่ประจวบคีรีขันธ์ ทำหน้าที่ดูแลการปกครองท้องถิ่นแถบนั้น นอกจากนั้นทรงตั้งสภาต่างๆ ดังนี้

1. อภิรัฐมนตรีสภา ประกอบด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ 5 พระองค์ มีหน้าที่ถวายคำปรึกษาราชการแผ่นดินแก่พระมหากษัตริย์

2. องคมนตรีสภา ประกอบด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ และขุนนางทั้งในและนอกราชการที่มีความสามารถ 40 คน มีหน้าที่ประชุมรับโครงการตามพระราชดำริไปวินิจฉัยเสนอความคิดเห็นในสภา

3. เสนาบดีสภา ประกอบด้วยเสนาบดีกระทรวงต่างๆ สภานี้มีกษัตริย์เป็นประธาน

4. สภาป้องกันพระราชอาณาจักร เป็นสภาที่ทำหน้าที่ดำเนินนโยบายป้องกันประเทศ ติดต่อประสานงานกับกระทรวงฝ่ายธหารและพลเรือนที่เกี่ยวข้องในการดูแลบ้านเมือง เช่น กลาโหม ทหาร มหาดไทย คมนาคม และพาณิชย์ สภานี้มีกษัตริย์เป็นสภานายกและพระบรมวงศ์เธอ ดำรงพระยศสูงสุด เป็นอุปนายก

5. สภาการคลัง มีหน้าที่ตรวจตราวินิจฉัยงบประมาณแผ่นดินและรักษาผลประโยชน์การเงินของประเทศ คอยวินิจฉัยการคลังเสนอต่อพระมหากษัตริย์ และทำหน้าที่เกี่ยวกับการคลังตามพระราชดำรัสของระมหากษัตริย์ สมาชิสภาประกอบด้วยเสนาบดีคลัง ราชเลขาธิการ และสมาชิกที่ทรงคุณวุฒิอีก 3 คน

6. ราชบัณฑิตยสภา ประกอบด้วยแผนกวรรณคดี โบราณคดี และศิลปากร

2. การจัดการปกครอง

- การปกครองส่วนกลาง ได้ยุบกระทรวงเหลือ 10 กระทรวง คือรวมกระทรวงทหารเรือเข้ากับกระทรวงกลาโหม และรวมกระทรวงโยธาธิการเข้ากับกระทรวงพาณิชย์ เพื่อลดงานซ้ำซ้อน

- การปกครองส่วนภูมิภาค ใช้นโยบายดุลยภาพยุบรวมตำแหน่งปลัดมณฑล อุปราชประจำภาค มณฑลบางมณฑล จังหวัดบางจังหวัดให้รวมเป็นอำเภอ เพื่อลดค่าใช้จ่ายอันเนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกอันเป็นผลมาจากสงครมโลกครั้งที่ 1

- เริ่มทดลองจัดดำเนินการปกครองแบบเทศบาล ที่หัวหินและชะอำ

3. การเตรียมการพระราชทานรัฐธรรมนูญ

ภายหลังจากที่รัชกาลที่ 7ทรงเสด็จกลับจากอเมริกา ทรงมอบหมายให้พระยาศรีวิศาลวาจาและนายเรมอนด์ สตีเวนส์ (ที่ปรึกษากระทรวงต่างประเทศ) พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ แต่ถูกพระบรมวงศานุวงศ์ทัดทานไว้

4. การเปลี่ยนแปลงการปกครอง วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475

- หลังจากที่รัชกาลที่ 7 เสด็จกลับจากสหรัฐอเมริกาเพื่อรักษาดวงตาแล้ว และได้โปรดให้ผู้ชำนาญทางกฎหมายข้างต้นร่างรัฐธรรมนูญถวายให้ทันในวันฉลองพระนครครบ 150 ปี คือวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2475 แต่ได้ถูกทัดทานไว้ดังกล่าว พระองค์จึงนำร่างรัฐธรรมนูญนั้นไปพิจารณาใหม่ที่พระราชวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แต่ต่อมาในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 ได้มีคณะบุคคลประกอบด้วย ทหารบก ทหารเรือ และพลเรือนส่วนหนึ่ง ซึ่งใช้ชื่อว่า "คณะราษฎร์" โดยมี พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นหัวหน้า ได้ทำการยึดอำนาจการปกครอง ประกาศเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชเป็นระบอบประชาธิปไตย

พฤติการณ์การปฏิวัติ

- วันที่ 24 มิถุนายน 2475 คณะราษฎร์ทำการปฏิวัติ

- วันที่ 25 มิถุนายน 2475 คณะราษฎร์ได้ทำหนังสือทูลเชิญรัชกาลที่ 7 เสด็จนิวัติพระนคร

- วันที่ 27 มิถุนายน 2475 ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย เรียกว่า " พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว"

- วันที่ 28 มิถุนายน 2475 เปิดประชุมสภาเป็นครั้งแรก

- วันที่ 10 ธันวาคม 2475 พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับถาวร

5. สาเหตุของการปฏิวัติ

1. ระดับการศึกษาของประชาชนสูงขึ้น ก่อให้เกิดความคิดและความต้องการประชาธิปไตย

2. เห็นตัวอย่างการปฏิวัติการปกครองจากประเทศใกล้เคียง เช่น จีน ญี่ปุ่น

3. หนังสือพิมพ์ลงบทความกระตุ้นให้ประชาชนต้องการได้ประชาธิปไตยและสิทธิเสรีภาพของตน

4. เศรษฐกิจตกต่ำตามภาวะหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ราษฎรต้องว่างงานมากและข้าราชการบางส่วนถูกปลดออก จึงเกิดความไม่พอใจรัฐบาลมากขึ้น

5. นักศึกษาไทยจากต่างประเทศมีมากขึ้น ได้เห็นรูปแบบและศึกษาวิธีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของประเทศต่างๆ ในยุโรป

6. หลักการ 6 ประการของคณะราษฎร์ในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

1. รักษาเอกราชทางการเมือง การศาล และการเศรษฐกิจของประเทศ

2. รักษาความปลอดภัย จะรักษาความปลอดภัยภายในประเทศให้โจรผู้ร้ายน้อยลง

3. เศรษฐกิจ จะจัดหางานให้ทุกคนทำ และวางโครงการเศรษฐกิจของชาติเพื่อความสุขสมบูรณ์ของราษฎร

4. ความเสมอภาค ให้ราษฎรมีสิทธิเสมอกัน

5. เสรีภาพ ให้ราษฎรมีเสรีภาพในขอบเขตของกฎหมาย

6. การศึกษา จะให้ราษฎรได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง

7. เหตุการณ์ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

ก. คณะราษฎร์ดำเนินการตามนโยบายที่กำหนดไว้แต่ไม่บรรลุผลเท่าที่ควรเพราะ

1. เกิดการแย่งชิงอำนาจกันเองในหมู่คณะราษฎร์และเกิดกบฏบ่อย

2. คณะราษฎร์เกิดความคิดเห็นแตกแยกกันในโครงการพัฒนาเศรษฐกิจของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม

3. ผู้แทนราษฎรไม่มีบทบาทในฐานะตัวแทนของประชาชน

4. ประชาชนได้รับการศึกษาน้อยไม่เข้าใจรูปแบบการปกครองแบบประชาธิปไตย

ข. วิกฤติการณ์หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

1. เกิดความยุ่งยากทางการเมืองเนื่องจากความคิดเห็นขัดแย้งในคณะรัฐบาลเกี่ยวกับเค้าโครงการเศรษฐกิจของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม พระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรีขณะนั้น กับรัชกาลที่ 7 วินิจฉัยในเค้าโครงเศรษฐกิจตรงกันว่าดำเนินการตามหลักของสังคมนิยม

2. พระยามโนปกรณ์นิติธาดาออกคำสั่งห้ามข้าราชการและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เข้าเป็นสมาชิกสมาคมที่เกี่ยวข้องกับการเมือง

3. พระยามโนปกรณ์นิติธาดาประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎรและออก พ.ร.บ. การกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ เป็นผลให้หลวงประดิษฐ์ต้องลี้ภัยออกนอกประเทศ

4. พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา ทำรัฐประหารยึดอำนาจรัฐและขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี หลวงประดิษฐ์มนูธรรมเดินทางกลับและเข้าร่วมในคณะรัฐมนตรี

5. เกิดกบฏบวรเดช โดยคณะผู้ก่อการมีวัตถุประสงค์ที่จะจัดตั้งรัฐบาลใหม่ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง แต่ถูกปราบได้ กบฏครั้งนี้มีผลต่อรัชกาลที่ 7 เพราะคณะราษฎร์คิดว่ารัชกาลที่ 7 สนับสนุน

6. รัชกาลที่ 7 เสด็จไปรักษาดวงตาที่ประเทศอังกฤษและทรงสละราชสมบัติ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2477

7. คณะรัฐบาลและสมสชิกสภาผู้แทนราษฎรได้อัญเชิญพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอานันทมหิดล ขึ้นครองราชย์ และได้เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2489

8. พระเจ้าน้องยาเธอพระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดชได้ขึ้นครองราชย์สืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน

8. รัฐธรรมนูญหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง

นับแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญมาแล้ว 18 ฉบับ รัฐธรรมนูญที่ถูกยกเลิกไปส่วนใหญ่เกิดจากการปฏิวัติรัฐประหาร รัฐธรรมนูญฉบับที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเป็นฉบับที่ 18 ซึ่งร่างขึ้นโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีที่มาจาก คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ก่อนประกาศใช้ได้มีการทำประชาพิจารณ์ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันประกาศใช้เมื่อวันที่ 241 สิงหาคมม พ.ศ.25540 เรียกว่า "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550" สาระสำคัญของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันสรุปได้ดังนี้

1. รัฐและการปกครอง ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้ มีการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะผู้ใดจะละเมิดมิได้

2. อำนาจอธิปไตย มาจากปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติผ่านทางรัฐสภา ใช้อำนาจบริหารผ่านทางรัฐบาลและทรงใช้อำนาจตุลาการผ่านทางศาล

3. รัฐสภา ประกอบด้วย วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร

3.1 วุฒิสภา ประกอบด้วยสมาชิก จำนวนรวม 150 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งในแต่ละจังหวัด จังหวัดละ 1 คน และมาจาก การสรรหาเท่ากับจวนรวมข้างต้นหักด้วยจำนวนสมาชิกวุฒิสภาทีมาจากการเลือกตั้ง

3.2 สภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 480 คน โดยเป็นสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 400 คน และสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วนจำนวน 80 คน เป็นผู้ที่มีสัญชาติไทยโดยการเกิด สังกัดพรรคการเมืองพรรคเดียวนับถึงวันเลือกตั้งติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน อายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี วาระดำรงตำแหน่ง 4 ปี ทำหน้าที่เป็นตัวแทนปวงชนชาวไทย ออกกฎหมาย ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานรัฐสภาโดยตำแหน่ง

4. คณะรัฐมนตรี ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี 1 คน และรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 35 คน นายกรัฐมนตรีต้องแต่งตั้งจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รัฐมนตรีต้องมีสัญชาติไทยโดยการเกิด มีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปีบริบูรณ์ การศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี ไม่เป็นสมาชิกวุฒิสภา คณะรัฐมนตรีที่จะเข้าบริหารราชการแผ่นดินต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภาโดยไม่มีการลงมติความไว้วางใจ การสิ้นสุดความเป็นรัฐมนตรีเมื่อความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลง อายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุด คณะรัฐมนตรีลาออก

5. ศาล รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้แบ่งศาลไว้ 4 ประเภทคือ

5.1 ศาลรัฐธรรมนูญ มีอำนาจหน้าที่ในการวินิจฉัยประเด็นข้อขัดแย้งระหว่างรัฐธรรมนูญกับกฎหมายอื่น วินิจฉัยปัญหาเรื่องขอบเขตอำนาจขององค์การทางการเมืองต่างๆ วินิจฉัยเรื่องการขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้ามของกรรมการการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา และรัฐมนตรี วินิจฉัยเกี่ยวกับมติ หรือข้อบังคับของพรรคการเมืองที่ขัดหรือแย้งกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และหน้าที่อื่นๆที่เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วยคณะตุลาการรวม 15 คน

5.2 ศาลยุติธรรม มี 3 ชั้นคือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีซึ่งต้องดำเนินการตามกฎหมายในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์

5.3 ศาลปกครอง มีอำนาจหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐบาลกับเอกชนหรือระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกัน

5.4 ศาลทหาร มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาคดีที่ผู้กระทำความผิดเป็นทหารและทำความผิดในเขตทหาร


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น