วันเสาร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การปกครองสมัยกรุงศรีอยุธยา



ยุคสมัยกรุงศรีอยุธยา

อยุธยาในช่วงแรกนั้นมิได้เป็นศูนย์กลางของชาวไทยในดินแดนคาบสมุทรอินโดจีนทั้งปวง แต่ด้วยความเข้มแข็งที่ทวีเพิ่มขึ้นประกอบกับวิธีการทางการสร้างความสัมพันธ์กับชาวไทยกลุ่มต่าง ๆ ในที่สุดอยุธยาก็สามารถรวบรวมกลุ่มชาวไทยต่างๆ ในดินแดนแถบนี้ให้เข้ามาอยู่ภายใต้อำนาจอย่างหลวม ๆ ได้ กระทั่งเมื่อพม่าได้เข้ามารุกรานและสามารถครอบครองอยุธยาได้ช่วงระยะเวลาหนึ่ง อยุธยาจึงได้หล่อหลอมเป็นอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวกันอย่างแท้จริง ซึ่งก็ได้สร้างความมั่นคงเข้มแข็งให้กับอยุธยาเป็นอย่างมาก แต่ด้วยปัญหาความขัดแย้งภายในที่มีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง ในที่สุดอยุธยาก็ไม่สามารถเป็นศูนย์รวมความสามัคคีของชาวไทยทั้งมวลได้ ทำให้ต้องถูกทำลายลงโดยกองทัพของพม่าอย่างง่ายดายเกินความคาดหมาย การล่มสลายลงของอาณาจักรอยุธยาทำให้ระบบระเบียบที่กลายเป็นอุปสรรคต่อการบริหารนั้นถูกทำลายลง ความเข้มแข็งของอยุธยาจึงถูกแสดงออกภายหลังจากการล่มสลายลงของตัวมันเอง การประกาศเอกราชจากพม่าในเวลาอันสั้นในขณะที่ฝ่ายพม่าก็มีปัญหาเช่นกันอาจมิใช่ตัวอย่างที่ดีที่จะยกมาอ้างอิง แต่การก่อร่างสร้างอาณาจักรของชาวไทยขึ้นมาใหม่ ท่ามกลางสภาพความแตกแยกและความพยายามที่จะเข้ามารุกรานจากกลุ่มชาวต่างๆ รายรอบนั้นย่อมแทบที่จะเป็นไปไม่ได้หากอาณาจักรอยุธยามิได้ฟูมฟักความเข้มแข็งนี้ไว้ให้ อาณาจักรใหม่ของชาวไทยยังต้องเผชิญกับความขัดแย้งภายในอีกรอบหนึ่งระหว่างกลุ่มขุนนางระดับล่างและกลุ่มขุนนางระดับสูงจาก อาณาจักรอยุธยาเดิม ซึ่งในที่สุดกลุ่มขุนนางระดับสูงจากอาณาจักรอยุธยาเดิมก็ได้รับชัยชนะ เนื่องจากเมื่ออาณาจักรเริ่มมีความมั่นคงเป็นปึกแผ่น ความสามารถในเชิงรัฐศาสตร์และการเมืองอันลึกซึ้ง ย่อมทวีความสำคัญมากกว่าความสามารถในการสงครามประการเดียว
การปกครองสมัยกรุงศรีอยุธยาระยะแรก
สมัยกรุงศรีอยุธยาระยะแรกกำหนดโดยถือเอารูปแบบการปกครองที่มีแนวเดียวกัน คือ ตั้งแต่สถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชานีสมัยสมเด็จ พระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) จนถึง สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) แบ่งการปกครองออกเป็น 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ
ฝ่ายบริหาร
พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจในการบริการาชการผ่านดินและเป็นพระเจ้าแผ่นดินอย่างสมบูรณ์ ดังข้อความในพระไอยการลักษณะเบ็ดเสร็จที่ประกาศเมื่อ พ.ศ.๑๙๐๒ กำหนดให้แผ่นดินทั่วแว่นแคว้นเป็นที่ที่พระมหากษัตริย์ให้ราษฎรอาศัยอยุ่ห้ามซื้อขายแก่กัน ส่วนการควบคุมปกครองดูแลราษฎรกำหนดไว้ในพระไอยการบานแผนก ความว่า ให้เจ้าพญาแลพญา พระมหาราชครู พระหลวง เมือง เจ้าราชนิกูล ขุนหมื่น พัน ทนาย ฝ่ายทหาร พลเรือน สมใน สมนอก สังกัดพันทั้งปวงให้ยื่นเทบียรหางว่าวหมู่ไพร่หลวง แลภักพวกสมกำลัง เลกไท เลกทาษ ขึ้นไว้แก่สัศดีซ้ายขวาจงทุกหมู่ทุกกรม? แสดงถึงการบริหาร บ้านเมืองแบบกึ่งกระจายอำนาจและแม้ว่ากฎหมายต่าง ๆ ดูจะให้อำนาจล้นพ้นแก่พระมหากษัตริย์ในการบริหารบ้านเมือง แต่จริง ๆ แล้ว มีข้อจำกัดพระราชอำนาจ เช่น ความเป็นธรรมราชา และพระราชกำหนดกฎหมายต่าง ๆ ที่ โปรดเกล้าฯ ให้ตราขึ้นไว้เพื่อทัดทานการใช้พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ที่อาจจะมิชอบด้วยเหตุผล การปกครองทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ได้ทรงวางระเบียบโดยแบ่งเมือง เป็นชั้น ๆ คือ กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และศูนย์กลาง

สำหรับส่วนกลางหรือราชธานี จัดระเบียบบริหารตามแบบเขมร คือ จัดเป็นจัตุสดมภ์ ได้แก่ เวียง วัง คลัง นา มีหน้าที่ดังนี้
๑.เวียงหรือเมือง มีขุนเมืองปกครองท้องที่บังคับบัญชาขุนและแขวงในกรุง รักษา ความเรียบร้อยปราบปรามโจรผู้ร้ายและลงโทษผู้ทำผิด
๒.วัง มีขุนวังดูแลราชการเกี่ยวกับราชสำนัก รักษาพระราชมณเฑียร พระราชวังชั้นนอก ชั้นใน พระราชพิธี ทั้งปวง บังคับบัญชาราชการฝ่ายใน รวมทั้งพิจารณาพิพากษาคดีของราษฎรเป็นการแบ่งเบาพระราชภาระในด้านตุลาการ
๓.กรมคลัง มีขุนคลัง ทำหน้าที่จัดการ เกี่ยวกับพระราชทรัพย์การการภาษีอากร
๔.กรมนา มีขุนนาทำหน้าที่ดูแลการทำไร่ทำนา และจัดหารักษาเสบียงอาหารสำหรับพระนคร
เมืองลูกหลวงหรือเมืองหน้าด่าน ตั้งอยุ่ ๔ ทิศ สำหรับป้องกันราชานี ระยะทางไปมาถึงกันภายใน ๒ วัน คือ เมืองลพบุรี เมือนนครนายก เมืองพระปะแดง และเมืองสุพรรณบุรี มีพระ ราชโอรสหรือเจ้านายชั้นสูงปกครอง
มีหัวเมืองชั้นในอยู่ถัดออกไป คือ ทิศเหนือมีเมืองพรหมบุรี เมืองอินทร์บุรี เมืองสิงห์ เมืองแพรก (เมืองสรรค์) ทิศตะวันออกมีเมืองปราจีนบุรี เมืองฉะเชิงเทรา เมืองชลบุรี ทิศใต้มี เมืองเพชรบุรี ทิศตะวันตกมีเมืองราชบุรี พระมหากษัตริย์แต่งตั้งเจ้าเมืองจากส่วนกลางให้ไปปกครองเมืองเหล่านี้
เมืองที่อยู่ไกลออกไป คือ เมืองเจ้าพระยามหานครหรือหัวเมืองชั้นนอก เป็นเมืองใหญ่ เช่น เมืองนครราชสีมา (โคราดบุรี) เมืองจันทบุรี เมืองนครศรีธรรมราช เมืองพัทลุง เมืองสงขลา เมืองตะนาวศรี เมืองทวาย เมืองเชียงกราน เป็นต้น มีเจ้า นายชั้นสูงไปปกครอง
เมืองที่อยู่ไกลออกไปมาก ประชาชนเป็นชาวต่างชาติต่างภาษากับอยุธยา เรียกว่าเมืองประเทศราช ได้แก่ เมืองกัมพูชา มะละกา และยะโฮว์
การบริหาราชการส่วนภูมิภาคแบบนี้มีข้อเสียตรงที่ว่า หัวเมืองชั้นนอกอยู่ไกลจากราชธานีระยะเดินทางหลายวันมาก ส่วนกลางไม่สามารถควบคุมใกล้ชิด เจ้าเมืองเหล่านี้จึง ปกครองบ้านเมืองอย่างแทบไม่ต้องขึ้นกับการบริหารราชการส่วนกลางเลย ดังนั้น ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงรัชกาลหรือกษัตริย์ที่ปกครองอ่อนแอ ความวุ่นวายมักจะเกิดขึ้นโดยเจ้าเมืองคิดตั้งตัวเป็นอิสระ ทำให้ไม่มีความเป็นอันหนึ่งอัน เดียวกันของราชอาณาจักร นอกจากนั้น เมืองลุกหลวงหรือเมืองหน้าด่านที่ให้พระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูงไปปกครองนั้น เป็นเมืองที่มีความสำคัญสำหรับป้องกันราชธานี ดังนั้น จึงต้องมีความเข้มแข็งมั่นคงมาก เมื่อเข้มแข็งและมั่น คงถึงขนาดอาจท้าทายพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ได้ โดยเฉพาะถ้ามีการเปลี่ยนรัชกาลใหม่ เจ้าเมืองลูกหลวงอาจกระด้างกระเดื่องและที่ร้ายแรงหนักถึงขนาดยกทัพมาช่วงชิงพระราชบัลลังก์ก็มีมาแล้ว
ฝ่ายนิติบัญญัติ
พระมหากษัตริย์ ทรงมีพระราชอำนาจในการบัญญัติกฎหมายออกมาให้ประชาชนได้ยึดถือปฏิบัติ เป็นกฎหมายที่ พยายามให้ความยุติธรรมแก่สังคม มีการปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมกับเหตุการณ์อยู่ตลอดเวลาและมีครบทุกด้าน เช่น กฎหมายที่กำหนดสิทธิหน้าที่ของประชาชน กฎหมายเกี่ยวกับการพิจารณาตัดสินคดี กฎหมายปกครองแผ่นดิน อีกมากมายหลายลักษณะ รวมทุกลักษณะแล้วมีถึง ๑,๖๐๓ บท จำแนกตามรัชกาลได้ดังนี้
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) มีกฎหมายรวม ๑๐ ฉบับ คือ
๑.ลักษณะพยาน ตราเมื่อ พ.ศ. ๑๘๙๔
๒.ลักษณะอาญาหลวง ตราเมื่อ พ.ศ. ๑๘๙๕
๓.ลักษณะรับฟ้อง ตรา เมื่อ พ.ศ. ๑๘๙๙
๔.ลักษณะลักพา ตราเมื่อ พ.ศ. ๑๘๙๙
๕.ลักษณะอาญาราษฎร ตราเมื่อ พ.ศ. ๑๙๐๑
๖.ลักษณะโจร ตราเมื่อ พ.ศ. ๑๙๐๓
๗.ลักษณะโจร เพิ่มเติม (ว่าด้วยสมโจร) ตราเมื่อ พ.ศ. ๑๙๑๐
๘.ลักษณะเบ็ดเสร็จ (ว่าด้วยที่ดิน) ตราเมื่อ พ.ศ. ๑๙๐๓
๙.ลักษณะผัวเมีย ตราเมื่อ พ.ศ. ๑๙๐๔
๑๐.ลักษณะผัวเมีย ( เพิ่มเติม) ตราเมื่อ พ.ศ. ๑๙๐๕
สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) มีเพียงฉบับเดียว คือ กฎหมายลักษณะอาญาหลวง (เพิ่มเติม) ตราเมื่อ พ.ศ. ๑๙๗๖
ฝ่ายตุลาการ
พระมหากษัตริย์ ทรงใช้อำนาจตุลาการโดยผ่านคณะตุลาการ ทรงโปรดเกล้าฯ ตั้งศาล ๔ ประเภท คือ
๑.ศาลกรมวัง พิพากษาคดีราษฎรฟ้องร้องกันเอง
๒.ศาลกรมเมืองหรือนครบาล คดีที่ขึ้นศาลนี้เป็นคดีร้ายแรง เช่น ผู้ร้ายที่เป็นเสี้ยนหนามแผ่นดิน
๓.ศาลกรมนา พิพากษาคดีเกี่ยวกับ ที่นา โค กระบือ
๔.ศาลกรมคลัง พิพากษาคดีเกี่ยวกับพระราชทรัพย์หลวง
การพิจารณาคดีความหรือการพิพากษาคดี ใช้บุคคล ๒ พวกทำหน้าที่ คือ พวกแรกเรียกว่า ลูกขุน ณ ศาลา เป็นข้าราชการไทยที่มีหน้าที่รับฟ้อง บังคับคดี และลงโทษ พวกที่สองเรียกว่าลูกขุน ณ ศาลหลวง เป็น พราหมณ์ผู้เชี่ยวชาญในพระธรรมศาสตร์ จำนวน ๑๒ คน ทำหน้าที่ตรวจสำนวนและตัดสินชี้ขาด วิธีพิจารณาความมีขั้นตอนว่า ผู้จะฟ้องร้องต้องไปร้องอต่อจ่าศาล เมื่อจ่าศาลจดถ้อยคำแล้วจะให้พนักงานประทับรับฟ้อง นำขึ้น ปรึกษาลูกขุน ณ ศาลหลวงว่า คดีนี้ควรจะรับพิจารณาหรือไม่ ถ้าลูกขุน ณ ศาลหลวง เห็นว่าสมควรรับ ก็จะชี้ว่า ศาลกรมไหนควรพิจารณาคดีนี้ แล้วจึงส่งสำนวนฟ้องกับตัวโจทย์ไปยังศาลนั้น ๆ ตุลาการจะออกหมายเรียกจำเลยมา ให้การแล้วส่งคำให้การไปให้ลูกขุน ณ ศาลหลวง ชี้ ๒ สถาน คือ ข้อใดรับกันในสำนน และข้อใดต้องสืบพยาน ถ้าต้องสืบพยานตุลาการจะสืบพยาน สืบเสร็จแล้วจึงส่งให้ลูกขุน ณ ศาลหลวง ชี้ว่าใครผิดใครถูก และลูกขุน ณ ศาลา จะทำหน้าที่บังคับคดีและลงโทษผู้ผิด ถ้าคดีความมีปัญหามาก ตัดสินยาก หร่อคู่คดีไม่พอใจ ไม่ยอมรับคำตัดสินก็ให้นำขึ้นกราบบังคมทูล ดังพระไอยการลักษณะตุลาการ กล่าวไว้ว่า ?อนึ่งความนั้นข้องขัดจะพิพากษาบังคับ บัญชายากไซร้ ให้ขุนกาลชุมนุมจัตุสดมให้ช่วยว่า ถ้าพิพากษามิได้ให้เอากราบบังคมทูลพระรพุทธฺเจ้าอยู่หัวจะตรัสเอง และในการฟ้องร้องมีกฎหมายกำหนดมิให้ฟ้องร้องบุคคล ๗ ประเภท ดังข้อความต่อไปนี้
ผู้มีอรรถคดีจะมาให้กฎหมายรับฟ้อง ห้ามมิให้รับฟ้องไว้บังคับบัญชานั้น มีในหลักอินทพาษ ๗ คือ คนพิกลจริตบ้าใบ้ ๑ คนเสียจักษุทั้งสองข้างมิได้เห็น ๑ คนเสียหูทัง ๒ ข้างมิได้ยิน ๑ เป็น ง่อยเปลี้ยเดิรไปมามิได้ ๑ เป็นคนกยาจกถือกระเบื้องกะลาขอทาน ๑ เป็นคนสูงอายุศมหลงใหล ๑ เด็กต่ำอายุศมเอาถ้อยคำมิได้ ๑ เป็น ๗ จำพวก
สรุปว่าการปกครองกรุงศรีอยุธยา ระยะแรก รับแบบสุโขทัยมาในข้อที่ว่าปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เช่นเดียวกัน แต่ต่างกันในการเน้นความสำคัญของผู้ปกครองคนละลักษณะ คือ สุโขทัยเน้นความสำคัญดุจบิดาปกครองบุตร และใช้คติสกุลวงศ์ ส่วนสมัย กรุงศรีอยุธยาปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อย่าง



การปกครองสมัยอยุธยาตอนต้น มีลักษณะดังนี้

การปกครองระยะนี้เริ่มเมื่อ (พ.ศ.1893-1991 )สมัยพระเจ้าอู่ทองถึงสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 แบ่งการปกครองได้ 2 ส่วน
ส่วนที่ 1) การปกครองส่วนกลาง การปกครองในเขตราชธานี และบริเวณโดยรอบราชธานีโดยได้จัดรูปแบบการปกครองแบบเขมร จัดหน่วยการปกครองเป็น 4 หน่วย แต่ละหน่วยมีเสนาบดีบริหารงาน ได้แก่ กรมเวียง (ดูแลในเขตเมืองหลวง) กรมวัง(ดูแลพระราชสำนักและพิจารณาคดี) กรมคลัง(ดูแลพระราชทรัพย์) กรมนา (จัดเก็บภาษีและจัดหาเสบียงสำหรับกองทัพ)
ส่วนที่ 2) การปกครองส่วนหัวเมือง แบ่งเป็น 4 ระดับ คือ
1. เมืองลูกหลวง หรือเมืองหน้าด่าน ตั้งอยู่รอบราชธานี 4 ทิศ เช่น ลพบุรี นครนายก พระประแดง สุพรรณบุรี ให้โอรสหรือพระราชวงศ์ชั้นสูงไปปกครอง 2. หัวเมืองชั้นใน อยู่ถัดจากเมืองลูกหลวงออกไป ได้แก่ พรหมบุรี สิงห์บุรี ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตะนาวศรี ไชยา นครศรีธรรมราช ให้ขุนนางที่กษัตริย์แต่งตั้งไปปกครอง 3.หัวเมืองชั้นนอก หรือหัวเมืองพระยามหานครคือหัวเมืองขนาดใหญ่ห่างจากราชธานีผู้ปกครองสืบเชื้อสายมาจากเจ้าเมืองเดิมหรือตัวแทนที่ราชธานีส่งมาปกครอง 4. เมืองประเทศราช เป็นเมืองที่ยังได้ปกครองตนเองเพราะอยู่ไกลที่สุด มีความเป็นอิสระเหมือนเดิมแต่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการตามกำหนดส่งกองทัพมาช่วยเวลาสงคราม เช่นสุโขทัย เขมร เป็นต้น
การปกครองสมัยอยุธยาตอนกลาง ( 1991-2231) มีลักษณะดังนี้ ช่วงเวลาทางการเมืองสมัยอยุธยาตอนกลางได้มีการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงการปกครองให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ ทางการเมือง โดยมีสถาบันกษัตริย์เป็นหลักในการปกครองแบ่งได้ 2 ช่วง
ช่วงที่ 1 เป็นช่วงสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงปรับปรุงการปกครองใหม่เนื่องจากปัจจัยหลายๆอย่างเช่น เศรษฐกิจ ควบคุมหัวเมืองได้ไม่ทั่วถึง และเมืองลูกหลวงหรือเมืองหน้าด่านมีอำนาจมากขึ้น และมักแย่งชิงบัลลังก์อยู่เนืองๆ ประกอบกับอาณาเขตที่กว้างขวางกว่าเดิมพระองค์ได้จัดการแยก ทหารและ พลเรือนออกจากกัน และจัดการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง ทำให้ราชธานีมีอำนาจมากขึ้น มีการควบคุมเข้มงวดมากขึ้น มีการปฏิรูปการปกครองแยกเป็น 2 ส่วน คือส่วนกลางและหัวเมือง สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแยกการปกครองส่วนกลางเป็น 2 ฝ่าย คือ ทหารและพลเรือน ทหาร มี สมุหกลาโหมดูแล ส่วนพลเรือนมี สมุหนายก ดูแล สมุหนายก มีอัครมหาเสนาบดีตำแหน่ง สมุหนายก ดูแล ข้าราชการฝ่ายพลเรือนทั้งในราช สมุหกลาโหม มีอัครมหาเสนาบดีตำแหน่ง
สมุหพระกลาโหมเป็นผู้ดูแลฝ่ายทหาร ทั้งในราชานีและหัวเมือง และยังได้ปรับปรุงจตุสดมภ์ภายใต้การดูแลของ สมุหนายก อัครมหาเสนาบดีผู้ดูแลปรับเปลี่ยนชื่อเป็น ออกญาโกษาธิบดี
การปฏิรูปส่วนหัวเมือง แยกเป็น 3 ส่วน
หัวเมืองชั้นใน ยกเลิกหัวเมืองลูกหลวง จัดตั้งเป็นเมืองชั้นใน ทรงขุนนางไปครองเรียก ผู้รั้ง หัวเมืองชั้นนอก คือหัวเมืองประเทศราชเดิม ถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของอยุธยาเรียกว่า เมืองพระยามหานคร จัดการปกครองใกล้ชิด เช่น พิษณุโลก นครศรีธรรมราช เป็นเมืองชั้นเอก โท และตรี เมืองประเทศราช คือเมืองชาวต่างชาติที่ยอมอยู่ใต้อำนาจ เช่น ตะนาวศรี ทะวาย เขมร ให้เจ้านายพื้นเมืองเดิมปกครอง ส่งบรรณาการและกองทัพมาช่วยเวลาเกิดสงคราม ช่วงที่ 2 ตรงกับสมัยพระเพทราชา ถ่วงดุลอำนาจทางทหารโดยให้สมุหกลาโหม และสมุหนายก ดูแลทั้งทหารและพลเรือน โดยแบ่ง หัวเมืองใต้ ให้สมุหกลาโหมดูแลหัวเมืองทางใต้และพลเรือน ส่วนพลเรือนและทหารฝ่ายเหนือให้ สมุหกลาโหมดูแล
การปกครองสมัยอยุธยาตอนปลาย ( ในช่วง 2231-2310) มีลักษณะดังนี้ พอถึงสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ครองราชย์ ทรงปรับเปลี่ยนอำนาจทางทหาร เพื่อถ่วงดุลมากขึ้นโดย ให้พระโกษาธิบดีหรือพระคลัง ดูแลทหารและพลเรือนทางใต้ แทนสมุหกลา-โหม ส่วนสมุหนายก ยังคงเหมือนเดิม การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการปกครองสมัยอยุธยาตั้งแต่ตอนต้นจนถึงตอนปลายนั้น กระทำเพื่อการรวมอำนาจสู่ศูนย์กลางให้มากที่สุด เพื่อถ่วงอำนาจ ระหว่างเจ้านาย และ ขุนนาง ไม่ให้เป็นภัยต่อพระมหากษัตริย์นั้นเอง
เข้าใจชัดแล้วใช่ไหมว่า ทำไมอยุธยาต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการปกครองค่อนข้างบ่อยเหตุผลก็เพื่อความมั่นคงของสถาบันกษัตริย์ที่เป็นหลักในการปกครองนั่นเอง
สรุป การปกครองสมัยอยุธยามีการปรับปรุงให้เหมาะสมกับสถานการณ์ทางการเมืองโดยมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญคือพยายามรวมอำนาจการปกครองสู่ส่วนกลาง และควบคุมการปกครองหัวเมืองต่างๆให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น พร้อมกับพยายามจัดรูปแบบการปกครอง เพื่อถ่วงดุลอำนาจกับกลุ่มเจ้านายและขุนนาง ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการปกครอง ดังนั้น สมัยอาณาจักรอยุธยาจึงเกิดการแย่งชิงอำนายทางการเมืองระหว่างพระมหากษัตริย์ เจ้านาย และขุนนาง ตลอดจนสิ้นอยุธยา
สมัยอยุธยาตอนกลาง

สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงปรับปรุงรูปแบบการปกครองใหม่ เพื่อให้เกิดความมั่นคง
และสอดคล้องกับอาณาเขตที่ขยายออกไป ดังนี้


1. การปกครองส่วนกลาง ยังคงใช้การปกครองแบบจตุสดมภ์ แต่เปลี่ยนชื่อใหม่และปรับปรุง
ขอบเขตอำนาจหน้าที่ ดังนี้


1.1 กรมเวียง เปลี่ยนเป็น นครบาล

1.2 กรมวัง เปลี่ยนเป็น ธรรมาธิกรณ์์

1.3 กรมคลัง เปลี่ยนเป็น โกษาธิบดี

1.4 กรมนา เปลี่ยนเป็น เกษตราธิการ

นอกจากนั้นได้ทรงแยกกิจการฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือนออกจากกัน โดยตั้งตำแหน่ง
ผู้รับผิดชอบเพิ่มขึ้นอีก 2 ตำแหน่ง

1. สมุหพระกลาโหม มีหน้าที่รับผิดชอบด้านการทหารทั่วราชอาณาจักร

2. สมุหนายก มีหน้าที่รับผิดชอบกิจการพลเรือน รวมทั้งจตุสดมภ์ทั้ง 4 ควบคุมบัญชีไพร่
ทั่วราชอาณาจักร

2. การปกครองหัวเมือง


2.1 หัวเมืองชั้นใน ได้แก่ เมืองที่อยู่ใกล้กรุงศรีอยุธยาหรือราชธานี

2.2 หัวเมืองชั้นนอก ได้แก่ เมืองที่อยู่ห่างราชธานีออกไป แบ่งออกเป็น เมืองเอก โท ตรี
ตามขนาดและความสำคัญของเมือง พระมหากษัตริย์จะแต่งตั้งเจ้านายหรือขุนนางชั้นสูงไปปกครอง

2.3 เมืองประเทศราช เป็นเมืองที่อยู่ห่างไกลราชธานี ยังคงให้เจ้านายเชื้อสายเจ้าเมืองเดิม
เป็นผู้ปกครองอย่างอิสระ โดยให้ส่งบรรณาการคือ ต้นไม้เงินต้นไม้ทอง และสิ่งของหายากที่มีอยู่ใน
เมืองนั้น ไปถวายพระมหากษัตริย์ตามเวลาที่กำหนด

สมัยอยุธยาตอนปลาย

สมเด็จพระเพทราชาทรงเห็นว่าการแยกกิจการฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือนออกจากกันอย่างเด็ดขาด
ไม่เป็นผลดี โดยเฉพาะในยามสงคราม บ้านเมืองต้องการกำลังพลในการสู้รบจำนวนมาก จึงแยกอำนาจ
หัวเมืองออกเป็น 3 ฝ่าย
1. ให้สมุหพระกลาโหม รับผิดชอบทั้งด้านทหารและพลเรือน ปกครองหัวเมืองฝ่ายใต้ตั้งแต่เพชรบุรีลงไป
2. ให้สมุหนายก รับผิดชอบทั้งด้านทหารและพลเรือน ปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือและหัวเมืองอีสาน
3. หัวเมืองชายทะเลตะวันออก ให้อยู่ในความปกครองดูแลของโกษาธิบดีหรือพระคลัง

กฎหมายและการศาล

สมัยอยุธยามีการประกาศใช้กฎหมายหลายฉบับ กฎหมายที่สำคัญสำหรับใช้ในการปกครอง
สมัยอยุธยา เช่น

กฎมณเฑียรบาล เป็นกฎหมายที่มีความเกี่ยวข้องกับองค์พระมหากษัตริย์โดยเฉพาะ ซึ่งจะ
พิทักษ์รักษาความปลอดภัยให้แก่สถาบันพระมหากษัตริย์ และมีลักษณะถึงความสัมพันธ์ระหว่าง
พระมหากษัตริย์กับพระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนางและราษฎร

นอกจากนี้ยังมีกฎหมายเพื่อรักษาความสงบของบ้านเมือง ควบคุมราษฎรมิให้ถูกขุนนาง
รังแก เช่น กฎหมายลักษณะทาส กฎหมายลักษณะกู้หนี้


การพิจารณาคดีในศาลในสมัยอยุธยา จะมีตุลาการทำหน้าที่ดำเนินการฟ้องร้องและลงโทษ
ผู้กระทำผิด สำหรับการพิพากษาคดีดำเนินการโดยพราหมณ์ผู้เชี่ยวชาญกฎหมาย เรียกว่า
"ลูกขุน ณ ศาลหลวง" เป็นผู้พิจารณาตัดสินและลงโทษ

เศรษฐกิจของอาณาจักรอยุธยา


พื้นฐานทางเศรษฐกิจของอาณาจักรอยุธยาอยู่ที่การเกษตรกรรมและการค้า
1. การเกษตรกรรม

อาณาจักรอยุธยาตั้งอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง มีดินและน้ำอุดมสมบูรณ์
พืชสำคัญที่ปลูกคือข้าว รองลงมาได้แก่ พริกไทย ฝ้าย หมาก และไม้ผลต่าง ๆ ลักษณะทางเศรษฐกิจ
เป็นการเกษตรแบบพอยังชีพ ส่วนที่เหลือจึงจะส่งไปขายต่างประเทศ

2. การค้า

กรุงศรีอยุธยาตั้งอยู่ในบริเวณที่เป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
กล่าวคือ เป็นแหล่งรวมสินค้าของป่า เช่น หนังกวาง ไม้ฝาง ครั่ง กำยาน ซึ่งเป็นสินค้าที่ตลาดภายนอก
ประเทศต้องการเป็นอย่างมาก อยุธยามีบทบาทสำคัญในการเป็นศูนย์กลางรวบรวมสินค้าจากดินแดน
ภายใน ส่งขายให้กับพ่อค้าต่างประเทศที่เข้ามาติดต่อค้าขายที่กรุงศรีอยุธยา
ลักษณะการค้าสมัยอยุธยา เป็นการค้าแบบผูกขาด ซึ่งดำเนินการโดยพระมหากษัตริย์
เจ้านายและขุนนาง มี "พระคลังสินค้า" เป็นหน่วยงานช่วยดูแลเกี่ยวกับการติดต่อกับต่างประเทศด้วย

รายได้ของอาณาจักร

ราชสำนักอยุธยามีรายได้มหาศาลจากการค้าขายกับต่างประเทศ ได้แก่ ผลกำไรจากการค้า
ภาษีสินค้าขาเข้าและภาษีสินค้าขาออก นอกจากนี้ยังมีรายได้ที่เรียกเก็บจากประชาชนในกิจกรรมต่าง ๆ
แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
1. จังกอบ

คือค่าผ่านด่านขนอนทางบกและทางน้ำ ซึ่งเรียกเก็บจากสินค้า โดยเก็บชักส่วนในอัตรา 10 ชัก 1
หรือเรียกเก็บเป็นเงินตามขนาดของยานพาหนะที่ขนสินค้า
2. ส่วย

คือสิ่งของหรือเงินตราที่ไพร่ส่วยต้องเก็บส่งราชสำนักตามอัตราที่กำหนด
3. อากร

คือภาษีที่ชักส่วนจากผลประโยชน์ที่ประชาชนทำมาหากินได้ เช่น อากรค่านาเรียกว่าหางข้าว
หรืออากรค่าสวน อากรค่าน้ำ
4. ฤชา

คือค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่เรียกเก็บจากประชาชนเมื่อประชาชนไปติดต่อราชการ เช่น
ค่าออกโฉนดที่ดิน

4. ไพร่

หมายถึง ประชาชนทั่วไปในสังคมทั้งผู้หญิงและผู้ชาย เป็นกลุ่มคนส่วนใหญ่ในสังคมที่ต้องขึ้น
สังกัดมูลนาย ตามกรมกองแห่งใดแห่งหนึ่ง หน้าที่ของไพร่ คือ เข้าเวรรับราชการตามระยะเวลาที่ทาง
ราชการกำหนดทุกปี มิฉะนั้นต้องส่งสิ่งของหรือเงินมาทดแทน ไพร่แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
4.1 ไพร่หลวง คือ ไพร่ของหลวง ขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์ ซึ่งพระองค์ทรงแจกจ่ายให้ไป

รับราชการตามกรมกองต่าง ๆ
4.2 ไพร่สม คือไพร่ส่วนตัวของเจ้านายและขุนนาง ขึ้นทะเบียนสักหมายหมู่ในสังกัดมูลนาย

รับใช้มูลนาย

ในยามปกติไพร่ทั้งสองประเภทจะทำหน้าที่ต่างกัน แต่ในยามสงครามต่างก็ถูกเกณฑ์มาทำการรบ
ด้วยกันทั้งหมด
5. ทาสหรือข้า

เป็นกลุ่มคนระดับล่างสุดของสังคม ถือเป็นสมบัติส่วนตัวของนาย มีหน้าที่หลักคือรับใช้
นายเงิน แต่ในยามที่บ้านเมืองเิกิดสงครามก็มีโอกาสถูกเกณฑ์ไปรบด้วยเช่นกัน

ความสัมพันธ์กับต่างประเทศสมัยอยุธยาุ

ในสมัยอยุธยาตอนต้น มีชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาค้าขายและอาศัยอยู่ในอาณาจักร ที่สำคัญ
่ได้แก่ ชาวจีน อินเดีย อาหรับ มลายู จนกระทั่งในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 พ.ศ. 2054 ได้มี
ชาวโปรตุเกสซึ่งเป็นชาวตะวันตกชาติแรกเดินทางเข้ามาติดต่ออยุธยา และได้ทำสนธิสัญญาระหว่างกัน
ในปี พ.ศ. 2059 โดยทางอยุธยาอนุญาตให้ชาวโปรตุเกสเข้ามาค้าขายกับอยุธยาและเมืองท่าอื่น ๆ ได้

ภายหลังต่อมา มีชาวตะวันตกชาติอื่นเดินทางเข้ามายังกรุงศรีอยุธยา ได้แก่ ฮอลันดา อังกฤษ
สเปนและฝรั่งเศส โดยเป็นพ่อค้าเข้ามาค้าขาย บ้างก็เป็นบาทหลวงเข้ามาเผยแพร่คริสต์ศาสนา
หรือนักท่องเที่ยวผจญภัย ชาวต่างชาติที่ได้เข้ามารับราชการในราชสำนักกรุงศรีอยุธยา เช่น เจ้าพระยา
วิชาเยนทร์ ชาวกรีซ ซึ่งเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

ความสัมพันธ์กับชาติตะวันตกเจริญรุ่งเรืองสูงสุดในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยเฉพาะ
ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับฝรั่งเศสสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ซึ่งมีการแลกเปลี่ยนทางการฑูต
ระหว่างกัน ราชสำนักฝรั่งเศสให้การสนับสนุนด้านการทหารและอาวุธที่ทันสมัยแก่อยุธยา

ด้านสังคมหรือวัฒนธรรม

กรุงศรีอยุธยาเป็นสังคมนานาชาติ มีผู้คนหลากหลายเชื้อชาติและศาสนา ผู้คนมีโอกาสพบปะ
แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมต่อกัน ชาวต่างชาติที่เข้ามาตั้งรกรากในพระนครศรีอยุธยา สามารถดำเนินชีวิต
ไปตามจารีตประเพณีแห่งชาติตนได้ ดังเช่น การประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อทางศาสนา มีการสร้าง
โบสถ์โดยชาวตะวันตกที่นับถือคริสต์ศาสนา์ และมัสยิดที่สร้างขึ้นโดยชาวอาหรับที่เป็นมุสลิมเพื่อประกอบ
พิธีทางศาสนาเช่นเดียวกัน

ศิลปวัฒนธรรมสมัยอยุธยา

สมัยอยุธยามีนักปราชญ์ราชบัณฑิตซึ่งเป็นบุคคลในราชสำนัก ได้สร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรม
อันเป็นมรดกของชาติที่ตกทอดมายังสมัยปัจจุบันหลายแขนง เช่น

วรรณกรรม

วรรณกรรมหรืองานเขียนสมัยอยุธยามีอยู่หลายเรื่อง โดยมีจุดประสงค์ของแต่ละเรื่อง
แตกต่างกันไป

วรรณกรรมเกี่ยวกับพุทธศาสนา ได้แก่ มหาชาติคำหลวง และกาพย์มหาชาติ

วรรณกรรมเกี่ยวกับพิธีกรรม ได้แก่ ลิลิตโองการแช่งน้ำ และฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง

วรรณกรรมสรรเสริญพระมหากษัตริย์ ได้แก่ ยวนพ่าย คำฉันท์ยอพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าิ
ปราสาททอง

วรรณกรรมด้านบันเทิง ได้แก่ สมุทรโฆษคำฉันท์ กาพย์แห่เรือต่าง ๆ

สถาปัตยกรรม

เมื่อแรกตั้งกรุงศรีอยุธยาได้รับอิทธิพลมาจากขอม โดยจะสร้างพระสถูปอันเป็นหลักของ
พระอารามเป็นพระปรางค์ตามแบบขอม เช่น วัดพุทไธศวรรย์ วัดราชบูรณะ วัดพระศรีสรรเพชญ์
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ

การสิ้นสุดของอาณาจักรอยุธยา

อยุธยาดำรงความเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 1893จนกระทั่งได้มาถึงวาระสิ้นสุด
ในปี พ.ศ. 2310 อันเนื่องมาจากสาเหตุดังต่อไปนี้

สาเหตุภายใน

ปลายสมัยอยุธยานั้น ขุนนางในราชสำนักขาดความสามัคคี มีการแบ่งพรรคแบ่งพวก
และหาโอกาสแย่งชิ่งอำนาจกันอยู่เสมอ ส่งผลให้เกิดความแตกแยกในหัวเมืองต่าง ๆ ความไม่เป็น
เอกภาพดังกล่าวนี้ เป็นจุดอ่อนที่ทำให้ไม่สามารถรับศึกจากกองทัพพม่า ที่สามารถเข้าโจมตีได้ในที่สุด

สาเหตุภายนอก

สมัยอยุธยาตอนปลาย พม่าได้ยกทัพเข้ามารุกรานดินแดนไทยอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2303
เมื่อพระเจ้าอลองพญายกทัพเข้ามายึดมะริดและตะนาวศรี ในครั้งนั้นพระเจ้าอลองพญาทรงพระประชวร
และเสด็จสวรรคตระหว่างทางเสียก่อน ในปี พ.ศ. 2307 พระเจ้ามังระ พระโอรสของพระเจ้าอลองพญา
จึงยกทัพเข้ามาตีอาณาจักรอยุธยาอีกครั้ง เริ่มจากยึดทวาย มะริดและตะนาวศรีก่อน จากนั้นยกทัพ
เข้ามาตีเมืองต่าง ๆ คือ เชียงใหม่ ลำพูน และหัวเมืองฝ่ายเหนือของอยุธยา และยกทัพเข้าล้อม
กรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. 2309 และด้วยปัญหาภายในที่มีอยู่คือความแตกแยกของขุนนาง ซึ่งเป็นผู้
ควบคุมกำลังไพร่พล นำมาซึ่งความไม่พร้อมในการรบ ทำให้อยุธยาพ่ายแพ้ต่อสงครามกับพม่า
ในปี พ.ศ.2310

อย่างไรก็ตาม พระยาวชิรปราการหรือในเวลาต่ือมาคือ พระเจ้าตากสินมหาราช ได้เป็นผู้นำ
กลุ่มคนไทย กอบกู้เอกราชของชาติกลับคืนมาได้อย่างรวดเร็วภายในปีเดียวกันนี้ และสถาปนากรุงธนบุรี
ขึ้นเป็นศูนย์กลางทางการเมืองแห่งใหม่แทนกรุงศรีอยุธยา
นางสาว ภัทรชนก ศิริธร
ชั้น ม.4/3 เลขที่ 37

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น